วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


         ด้วยการตรวจสอบคุณภาพของการผลิตมีความพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ก้าวทันตามเทคโนโลยีการผลิตได้ทัน ยกตัวอย่างเช่น การเชื่อมต่อวัสดุ 2 ชิ้นเข้าด้วยกันให้ติดกัน จำเป็นต้องมีการทดสอบคุณภาพของแนวเชื่อมนั้นๆ หลังการผลิต หรือการหล่อโลหะขึ้นรูปต่างๆ ผู้ผลิตหวังที่จะควบคุมการหล่อให้ปราศจากฟองกากาศ หรือสิ่งแปลกปลอมภายในชิ้นงานที่ผลิต 

          การทดสอบชิ้นงานก็มีมากมายหลายวิธี ไม่มีวิธีตรวจสอบแบบใดแบบหนึ่งที่สามารถตรวจสอบได้ครอบจักรวาล การเลือกวิธีการตรวจสอบให้เหมาะสมกับงานแต่ละอย่างนั้น จึงจำเป็นต้องใช้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและเข้าใจวิธีการตรวจสอบนั้นๆ เป็นผู้เลือกใช้งาน และออกแบบ Procedure สำหรับการตรวจสอบให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

          หนึ่งในวิธีการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย Non Destructive Testing ที่ขอหยิบยกขึ้นมา คือการตรวจสอบด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง Ultrasonic Flaw Detector เป็นการตรวจสอบที่ถูกเลือกใช้งานในระดับต้นๆ อันเนื่องมาจากเหตุผลของความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เมื่อเทียบกับการตรวจสอบด้วยการถ่ายภาพรังสี, ความรวดเร็วในการทดสอบ, ราคาเครื่องมือที่ไม่สูงมากนัก หรือความแม่นยำในการแสดงผล

           การตรวจสอบด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง Ultrasonic Flaw Detector มีความเหมาะสมในการตรวจสอบหาจุดบกพร่องในตำแหน่งที่อยู่ลึกลงไป อาทิเช่น หาจุดบกพร่องภายในแนวเชื่อม หาฟองอากาศในงานเหล็กหล่อเป็นต้น แต่ก็จะตรวจสอบได้ยากมากหากต้องการหาจุกบกพร่องบริเวณพื้นผิวชิ้นงานด้วยคลื่น Ultrasonic ดังนั้นในบางงานจึงมักจะทำการทดสอบควบคู่กันไปด้วยกับวิธีการตวจสอบด้วย Magnetic Testing, Penetrant Testing หรือ วิธีการตรวจสอบแบบอื่นๆ ที่เหมาะกับการทดสอบหาจุดบกพร่องบนพื้นผิว

Krautkramer USM 36
หน้าจอ A-Scan ขนาดใหญ่และคมชัดที่สุด

จอภาพ WVGA 7 นิ้ว 800 X 480 Pixels





Excellent Near Surface Resolution
มีประสิทธิภาพในการแยกแยะสัญญาณจากจุดบกพร่อง (Resolution) ได้อย่างชัดเจน และมีความไวในการตรวจจับสัญญาณ(Sensivity) ได้ดีเยี่ยม





ขอขอบคุณที่ได้ติดตาม

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่

วิทยา  ฐิติวรารักษ์

wittaya.titi@gmail.com
T.089-7999778





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น